SDG

.

ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพการบริการและคุณภาพอาหารรวมถึงคุณภาพในการจำหน่ายอาหารให้แก่ผู้บริโภคทั้งนักศึกษาและบุคลากรตลอดจนบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ศูนย์อาหารมหาวิทยาลัย ด้วยแหตุนี้ ศูนย์บริหารทรัพย์สินจึงมุ่งเน้นสร้างมาตรฐานและกระบวนการควบคุมคุณภาพการบริการจำหน่ายอาหาร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหาร การสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสุขภิบาลอาหาร(ตามข้อกำหนดของกรมอนามัย) การบริหารจัดการร้านค้าอาหาร การควบคุมมาตรฐาน การควบคุมคุณภาพให้บริการ รวมทั้งการทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์ และหลักปฏิบัติอื่นๆ ตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อนำไปสู่การให้บริการจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า จะได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาลอาหาร


ผอ.ศูนย์บรรยาย
อ.วาริทบรรยาย
ในการบริหารจัดการร้านค้าร้านอาหารให้บริการจำหน่ายอาหาร ศูนย์บริหารทรัพย์สิน มีพื้นที่ให้บริการอยู่ 2 แห่ง 1. ศูนย์อาหารช่อประดู่ ตั้งอยู่ บริเวณภายในเขตหอพักนักศึกษา ใกล้ แฟมมิลี่มมาร์ท และ หอพักลักษณานิเวศ11 เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00น. – 20.00 น. และเปิดให้บริการช่วงเวลาที่จัดสรรพิเศษเช่นช่วงถือศีลอด(เดือนรอมฎอน) 2.โรงอาหาร4 ตั้งอยู่ บริเวณ ใกล้อาคารเรียนรวม6 เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00น. – 14.00 น. (หยุดให้บริการช่วงวันหยุดราชการ) ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาให้สามารถใช้ชีวิตเรียนรู้อยู่อาศัยอย่างมีความสุขในเมืองมหาวิทยาลัย มีการจัดบริการทุกอย่างให้แก่นักศึกษาได้รับบริการอย่างดีที่สุด ซึ่งศูนย์อาหารช่อประดู่ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักศึกษา ที่ผ่านมาสถานที่แห่งนี้อาจจะดูคับแคบไป ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มีการปรับปรุงและขยายเพื่อให้มีความเพียงพอ และควบคุมในเรื่องมาตรฐานด้านคุณภาพอาหาร ความสะอาด ความปลอดภัย และความสะดวกสบาย ที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป โดยส่งเสริมลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก เพื่อลดปริมาณขยะ ภายใต้แคมเปญรักษ์โลก นอกจากนี้ยังช่วยเหลือให้ชาวชุมชนได้เข้ามาเปิดร้านขายสินค้าในพื้นที่ดังกล่าวได้อีกด้วย ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารทรัพย์สิน กล่าวเสริมถึงลักษณะพื้นที่ให้บริการภายในศูนย์อาหารช่อประดู่ว่า มีการบริหารจัดการเป็นลักษณะร้านอาหารที่มีความหลากหลายมากกว่า 78 ร้าน ลักษณะเป็นร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านที่เน้นสินค้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน และเป็นพื้นที่ในเขตหอพัก ทำให้นักศึกษามีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย หรือปั่นจักรยาน รวมทั้งเดินมายังศูนย์อาหารช่อประดู่ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์บริหารทรัพย์สิน มีความพร้อมในการเปิดให้บริการร้านค้า ร้านอาหารที่เป็นไปตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร มีความทันสมัยเน้นการดูแล สุขภาพอนามัย และสุขลักษณะที่ดีของนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป
เพจ WU Food Center







มหาวิทยาลัยเน้นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันใน ชุมชน หรือเมืองมหาวิทยาลัย โดยตระหนัก ให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน จึงสนับสนุนให้มีร้านค้าร้านอาหารจากชุมชุน ซึ่งเป็นร้านค้าที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่าพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านในชุมชนและได้สนับสนุนสินค้าผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตจากครอบครัวและสินค้าเกษตรที่รับซื้อมาจากชาวบ้าน ในชุมชน เช่น ผลไม้ และพืชผักตามฤดูกาล ส่งผลให้หลายครอบครัวในชุมชนได้มีช่องทางประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ ตลาดย้อนยุคหรือร้านค้าชุมชน เปิดให้บริการที่ศูนย์อาหารช่อประดู่ มีจำนวนทั้งสิ้น 12 ร้าน ประกอบการโดยชาวชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา





เพื่อเป็นการรณรงค์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ศูนย์บริหารทรัพย์สิน จัดโครงการ “ตลาดนัดสินค้ามือสอง” ขึ้น โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฯ นำสิ่งของเหลือใช้ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ หรือวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังสามารถใช้งานได้แต่ไม่ได้ใช้ นำมาแลกเปลี่ยนและขายกัน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 24 ร้าน โครงการ “ตลาดนัดทรัพย์สิน สินค้ามือสอง” ซึ่งจัดที่ศูนย์อาหารช่อประดู่ โดยศูนย์บริหารทรัพย์สิน จัดประจำทุก วันอังคาร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฯ ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า และเกิดการรายได้หมุนเวียน และยังเป็นช่องทางสนับสนุนให้กับนักศึกษากลุ่มที่สนใจหารายได้อีกช่องทางนึง